Lifetime Recipe

Lifetime Recipe

ก่อนจะอ่าน...

นี่เป็นบล็อคส่วนตัว สิ่งที่อยากโพสคือสิ่งที่อยากเก็บไว้เป็นความทรงจำ เพราะตัวเองเป็นคนลืมง่าย แม้แต่ช่วงเวลาความสุข ความประทับใจ ผิดกับความเศร้าเสียใจ ที่จำได้ง่ายเหลือเกิน แต่จะพยายามโพสแต่สิ่งที่น่าจดจำที่สุดก็แล้วกัน ...ยินดีต้อนรับสู่โลกของJulie Mค่ะ^^

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[BTS] รู้จักบังทันได้ไง + ตีแผ่มหากาพย์MVตามความเข้าใจของเรา


(ไม่ได้มาเขียนบล็อคนี้นานมากไปมัวแต่ทำงานหาเงินและก็ลืมไปเลยว่าเราเคยมีบล๊อกนี้ ขอโทษจริงๆ ที่ลืม TT-TT แต่เราก็ยังอยากเขียนบันทึกนี้เก็บไว้เป็นอีกหนึ่งความทรงจำของเรา)





(J-Hope V Jimin Rap Monster Suga Jungkook Jin)



ประมาณ 5 -6 เดือนที่ผ่านมากำลังเบื่อๆ เลยอยากหาเพลงใหม่ๆ ฟังโดยเฉพาะเพลงเกาหลีที่ไม่ได้ตามมานานนอกจากดงบังกับเจวายเจ ไม่ได้ตามติดเหมือนแต่ก่อนตั้งแต่เรียนจบทำงานวุ่นๆ ทำงานมาเหนื่อยๆ ก็อยากพักอยากเที่ยวตามประสานคนวัยทำงาน แต่ตอนนั้นคือรู้สึกเบื่อมากๆ เป็นคนติดซีรี่ส์ฝรั่งเกาหลีทุกอย่างก็ยังเบื่อฟังแต่เพลงเก่าๆ เพราะไม่ได้มีเวลาอัพเดทเหมือนสมัยเรียน(ที่ตอนนั้นว่างจัด) และวันนั้นเองประมาณกลางเดือนพฤษภาก็เปิดไปเจอเพลง Fire ของ BTS ที่เห็น Youtube โปรโมทหนักหนาเปิดไปฟังครั้งแรกเราจำความรู้สึกครั้งแรกได้เลยว่า "นี่ไม่ใช่เคป๊อปที่เรารู้จักแหล่ว" "แนวเพลงเกาหลีเขาอินเทรนด์ตามยุโรปเมกาแล้วเรอะ" เราเป็นคนนึงที่ติดฟังเพลงเสียบหูฟังทุกGenre ที่มีในยูทูปฟังPop, Hip-Hop, EDM (ตอนนั้นยังไม่รู้จักว่ามันคือEDM) Alternative Rock, พอมันร้องภาษาเกาหลีก็โอเคก็ยังไงก็คือเคป๊อปแต่มันเห็นความรู้สึกแตกต่างได้จากบิ๊กแบงที่Swag มาก่อนแต่ยังมีกลื่นอายโคเรียนอยู่ พอฟังเพลงFire จบ เราประทับใจเสียงbeatและโดยเฉพาะความหมายเนื้อเพลงนี้เราเลยติดเพลงไปโดยที่ยังไม่ได้สนใจตัวนักร้องด้วยซ้ำ เราไม่รู้ทำไมว่าตอนนั้นเราไม่มีความกระหายอยากรู้จักเพราะเราคิดว่าเราไม่ได้บ้าศิลปินตามนักร้องเหมือนแต่ก่อนแต่ชอบดูคลิปขำๆ ไปวันๆ มากกว่า 









จนกระทั่งแจ็คสันจากก๊อตเซเว่นที่เราชอบดูคลิปขำๆ เอนเตอร์เทนตัวเองหลังจากทำงานเครียดๆ เจอตาเด็กนี่เล่นมุขฮาๆ เป็นเด็กมีsympathy สูงมากคนนึงแต่ไปเจอคลิปที่ออกรายการกับแร๊พมอนสเตอร์ ครั้งแรกที่เห็นเอ้ยหมอนี่จากบีทีเอสนี่หว่าที่เราฟังเพลง รู้สึกทึ่งในความสามารถแร๊พม่อนมากเป็นอย่างที่ลือกันว่าเด็กคนนี้และวงนี้ความสามารถล้นเหลือจริงค่อนข้างเซอร์ไพรส์เมื่อรู้ว่าวงนี้แต่งเพลงเองทำเพลงเองบ้างเป็นโปรดิวเซอร์เองเริ่มทำแบบนี้ตั้งแต่ก่อนเดบิวต์ความคิดในหัวมันผุดขึ้นมาเลยว่า "นี่คงจะเป็นวงเกาหลียุคใหม่ที่ไม่โดนปั้นเหมือนค่ายเพลงอื่นสินะ" "แตกต่างจากวงอื่นที่เพิ่งเดบิวต์หลายๆ วงทั้งก่อนหน้าและหลังบังทัน" เราคิดอย่างนี้จริงๆ พูดได้เลยว่าเพราะแร๊พม่อนทำให้เราเริ่มสนใจวงบังทันโซนยอนดัน(ที่ตอนแรกคิดว่าทำไมชื่อยังยาวจุง55) เลยไล่ฟังเพลงทุกผลงานเรื่อยๆ ประมาณ 2 เดือน อย่างที่บอกเราไม่ได้ว่างจัดเหมือนแต่ก่อนเลยใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะรู้จักแต่ละคน ผลงาน ไลฟ์ วาไรตี้ บังทันนี่ปลุกความติ่งของเรากลับมาอีกครั้งนะเนี่ย ไม่ได้ทำไรแบบนี้มา 4 ปีแล้ว 555+ จากที่เราฟังทั้งหมด จุดเด่นคือแร๊พและบีท จุดเด่นที่สองคือเนื้อเพลงและธีมเพลง จุดเด่นสามคือการแสดงที่เรียกว่าการโชวร์เต้นฮิปฮอปแบบดุดันแข็งแรงแมนๆ แต่ยังให้ความรู้สึกboyishแบบดาร์คๆขี้เล่น งงป่ะ พูดง่ายๆ ไม่ใส เอ๊ะ ยังไง 55+ สรุปได้ประมาว่าวงนี้ทำเพลงมาเพื่อHealing รักษาเยียวยาจิตใจเด็กวันรุ่นและคนทั่วไปค่อนข้างตรงใจที่สุด 









TVXQ in Dream Concert 2007 and BTS - FIRE M/V



เราคิดแล้วคิดอีกว่าเราว่าวงนี่คือ exceptional หรือข้อยกเว้นที่ไม่ได้บ้าเพราะหน้าตาตั้งแต่แรกเห็นเพราะตอนเราเห็นหน้าครั้งแรกก็เฉยๆ รู้สึกได้ถึงความswagแต่ยังไม่เท่พอ แต่ไม่ได้รู้สึกถึงหน้าหล่อ เราเริ่มติดบังทันจากเพลงจริงๆ ถ้าเป็นแต่ก่อนอย่างดงบังเราเคยเห็นหน้าแล้วแหละเออหล่อดีเพอเฟคทุกคนเลยไรงี้แต่พอดูการไลฟ์เพลง โอ จองบันฮับในดรีมคอนเสิร์ท2007 เท่านั้นแหละมันก็เหมือนกับความรู้สึกที่ฟังเพลงFire ของบีทีเอสนั้นแหละคือแบบเฮ่ยคุณทำแสดงได้เป๊ะมาก ความหมายเพลงFire คือโดนมาก จะไม่ให้ชอบได้ไง เพลงพูดถึงใช้ชีวิตชิลๆ ไปและทิ้งชีวิตเป้าหมายที่ไม่ใช่ออกไปและทำนองดนตรีมันFlowเข้ากับเนื้อเพลงสุดๆ ที่พูดมาทั้งหมดนี่คือบังทันทำเพลงออกมาโดดเด่นและฉีกกฎวงการเคป๊อปหลายข้อคือเป็นวงไอดอลฮิปฮอปแต่ไม่ใช่ไอดอลที่ถูกค่ายบังคับให้ทำตาม เพลงที่แต่งส่วนใหญ่เป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องราวหรือปัญหามากกว่าจะเป็นเพลงเกี่ยวกับความรัก(ส่วนใหญ่นะ) เราตั้งใจจะบอกว่าบังทันเป็นวงที่มีความออริจินัลในแบบของมันตามที่บอกไปเมื้อกี้ (เพลงแร๊พฮิปฮอปที่ทำเพื่อเยียวยาจิตใจหรือเล่าแทนใจตัวเอง) คือมีความเป็นตัวเองมากถึงมากที่สุด เพราะมีช่วงนึงของวงการเคป๊อปที่ทำเราเบื่อมากคือการปั้นวงบอยกรุ๊ปเกิร์ลกรุ๊ปมาเกลื่อนและเพลงวงนู่นนั่นนี่ซ้ำกันจนเราเบื่อและมีไม่กี่วงที่มีความดั้งเดิมไว้ 








Black Eyed Peas , Eminem and Snoop Dogg




ก่อนที่จะฟังเพลงของบังทัน เราชอบเพลงแนวฮิปฮอปอยู่แล้วเลยคุ้นหูกับแนวนี้มานานพอสมควรเราก็มีศิลปินฮิปฮอปที่ชอบคือ Black Eyed Peas, Snoop Dogg ถ้าเกาหลีก็ Big Bang ถึงเราจะไม่ใช่VIP แต่ชอบฟังเพลงที่บีทหนักๆ EDMโดดเด่น แต่ไม่ใช่แค่Hip Hop เท่านั้น Rap ก็เช่นกันเหมือนเป็นของคู่กันยังไงยังงั้น ก็มี Eminemกับ Snoop Dog เขานี่แหละที่ทำให้เราเข้าใจคำRap มากขึ้น การRapหรือการพรรณาเรื่องเล่าตามจังหวะเป็นแนวเพลงที่คนแต่งแต่งได้อิสระเลยจะจับประเด็นมาเขียนเอสเสได้เป็นหน้าๆ ในบางมุมมองRap ก็เป็นการร้องbluff สดๆ ได้เหมือนจนดูล้ำเส้นคู่แข่งก็มี พูดๆ ง่ายแกร้องเพลงด่าคนก็ได้ ร้องเพลงเล่าปัญหาโวยวายวิจารณ์ได้ และนี่แหละเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของบังทันที่เราชอบ เป็นการฉีกกฎอีกข้อของวงการเพลงเกาหลี 






Cypher Part 3 - RM, SUGA, J-Hope





ไม่ได้มีแค่บังทันหรอก แร๊ปเปอร์เกาหลีเยอะจะตายดูใน Show Me the Money ก็ได้ แต่เราชอบแร๊พบังทันเพราะมันบลัฟคนในShow Me The Money เยอะเหมือนกันจากเพลง Cypher โดยเฉพาะ part 3 และเพลง Do You เพลง AgustD เพลง 1Verse เพราะฉะนั้น บังทันมีอัลเทอร์อีโก้ที่ไม่ถึงกับซ่อนไว้หรอกก็คือแร๊พ 3 ขั้วของวง (แร๊พม่อน ชูก้า เจโฮป) บอกตามตรงว่าพอฟังเพลงแร๊พมันแล้วคือแบบ "เดี๋ยวนะน้องอัดอั้นมากใช่มั๊ย แล้วที่เต้นฮารุมันกับมิสไรท์คนไหนคือตัวตนจริงๆ ของพวกแกร" 555+ นี่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของบังทันที่คนที่ไม่ใช่แฟนคลับเคป๊อปเห็น คนเหล่านั้นมองว่าเราบ้าผุ้ชายเกาหลีหน้าตาหล่อเต้นเก่งๆ เหอๆ ผิดคาด พวกมันแต่งแร๊พแอบมิ๊กเพลงไปเกือบสิบๆ เพลง แบบนี้เขาเรียกว่าศิลปินแล้วไม่ใช่ไอดอล ถ้าเทียบก็เหมือนมีบังทันบนดินกับใต้ดิน บนดินก็แสดงไลฟ์โปรโมทเพลงหลักออกทีวีไรว่าไป ส่วนใต่ดินพวกเอ็งมิกซ์เพลงทีละ10เพลงแล้วปล่อยโหลดฟรีๆ แบบไม่ได้ตั้งใจ(เหรอ) คิดว่าวัตถุประสงค์ที่มิกซ์เพลงเราคิดว่าอาจเป็นเพราะพวกนี้มีประวัติเป๊นแร๊พใต้ดินมาก่อนบวกกับสามารถทำเพลงเองได้ก็ปล่อยโปรโมทแบบฟรีๆ สิครัช


      
  



อยากพูดถึงเพลงที่พวกนางโปรโมทปล่อยของเปิดไพ่หลายคำใบ้มาหลายเอ็มวี ขอพูดแค่อัลบั้ม มหากาพย์ "ฮวายังยอนฮวา"จนอัลบั้ม "วิงส์" ปัจุบัน ผูกทฤษฎีเป็นเรื่องเป็นราวได้แรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง เดเมียน ที่แต่งโดย Hermann Hesse ต่อให้เราไม่ได้อ่านหนังสือแต่ไปอ่านSparknote มาเพราะไม่ได้อยากอิงขนาดนั้น เป็นนิยายที่เล่าถึงความขัดแย้งทางความเชื่อทัศคติของเด็กคนหนึ่งที่มีต่อเดเมียนจนเขาได้รู้จักเดเมียนจริงๆ และความคิดนั้นเปลี่ยนแปลงคล้ายกับเด็กที่ยังไม่รู้ว่าว่าอะไรเป็นอะไรจนเผชิญความจริงและกลายเป็นผู้ใหญ่ พูดง่ายๆ อัลบั้ม 2 อัลบั้ม ฮวายังยอนฮวาจะพูดถึงการเติบโตพร้อมๆ กับปัญหาที่ทุกคนมีในวัยรุ่นที่ยังสดใสทำไรก็ได้ไรงี้แต่พอทุกคนเจอปัญหาความรับผิดชอบที่มากขึ้นก็เจอความสับสนความอยากกิเลสที่ต้องก้าวผ่านเพราะต้องโตขึ้นก็เหมือนที่อัลบั้ม วิงส์ ที่เด็กๆ ถูกสิ่งเหล่านั้นดึงชีวิตวันรุ่นที่เคยเป็นอิสระเคยได้สนุกกับเพื่อนความทรงจำดีๆ นั้นถูกพรากไปและมาเข้าใจ เพราะแบบนี้รึป่าวนะที่จินใน MV Blood Sweats Tears ถึงจูบรูปปั้นปีศาจปีกดำ มันบ่งบอกว่าเด็กๆ หลงเข้าสู้ด้านมืดและอ่อนแอเพราะพ่ายให้กับกิเลสนั่นไปเหมือนที่หน้าจินร้าวเหมือนรูปปั้น และแล้วก็มาถึงทีเซอร์คอนเสิร์ท 






2017 BTS LIVE TRILOGY EPISODE III THE WINGS TOUR Trailer




ทีเซอร์คอน ดูทีเดียว 3 รอบ


รอบแรก - กรี๊ดๆ สติหาย


รอบสอง - ดูหน้าชัดๆ ส่องถึงรูขุมขน


รอบสาม - ดูรายละเอียดทั้งหมดดังนี้ ทั้งหมดนี้สืบเนื่องจากทีเซอร์ก่อนเปิดตัวอัลบั้มชล่าสุด อันนั้นอธิบายตวามความเข้าใจตัวเองบวกกับอ่านที่คนคอมเม้นท์ทั้งไทยเทศในยูปทูปและอ่านSparknoteของ Demian มันทำให้เราเข้าใจทีเซอร์โปรโมทอัลบั้มกับ BS&T M/V มากกว่าเดิม







ตาหนูกุ๊กกี้Beginจากที่ร้องไห้ฝันร้ายที่เสียพี่ชาย(ชูก้า)ไปและเสียใจกับสิ่งที่วีทำลงไป(เดี๋ยวบอกต่อไป) ตอนท้ายนางมีเงาปีกด้านหลังซึ่งปีกนั้นมองไม่เห็นสักนิด มาคราวนี้นางมาบทเด็กผู้ชายที่โตเป็นผู้ใหญ่จากที่นั่งชิงช้ากลายเป็นไฟลุกชิงช้าที่ว่างเปล่า(Youthถูกเผา // เล่นกับไฟอีกแล้ว) และเริ่มเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่จากที่วาดผีเสื้อหลากสีกลายเป็นมือเปื้อนน้ำสีดำและทำท่าจะลิ้มลองกำลังจะเข้าสู่ด้านมืด(อย่าเป็นแบบอนาคินนะลูก) น้องก็ร้องไห้อีกแล้ว INU ก็ร้องเป็นน้ำตาหยดติ๋ง มาทีเซอร์เพลงตัวเองก็ร้องไห้ฟูฟาย มาคราวนี้น้ำตาเป็นสีจ้า(น้ำสีๆ ทั้งหลายที่เห็นทั้งในBS&Tกับคลิปนี้คาดว่าเป็นเลือดอันนี้metaphorส่วนเลือดสีดำคือเลือดปีศาจ)








ชูก้าที่หลงรักเปียโนจาก First Loveและ(คาดว่า)ถูกรถชนเห็นฉากบนถนนไม่เจอรถแต่ได้ยินเสียรถชน ถ้าย้อนกลับไปดูทีเซอร์คือก้ากำลังตามหากุ๊กกี้ มาคราวนี้คือก้านอนนิ่งสนิทบนถนนเหมือนเขาได้สูญเสียรักครั้งแรก(เปียโนด้วย)กลายเป็นวิญญาณซึ่งผีเสื้อหมายถึงวิญญาณและฉากหลังเป็นป่า ทีนี้เราก็รู้แล้วว่าใครโดนรถชน 555+ ก้านั่นเองก่อนหน้าเดาว่าเป็นกุกกี้ เศร้าไปนะ







เจโฮปจากทีเซอร์MAMAคนที่เคยติดยานอนหลับหันมาติดสนิกเกอร์แต่ก็อยากปกป้องEvaผู้เป็นแม่โดยยิงธนู ถ้าสังเกตใน BS&T โฮปยิงวีและมีเลือดสีๆ สาด (เพราะอะไรนั้นเดี๋ยวบอกอีกที) มาคราวนี้นางโดนรุมยิงธนูเลยนอนราบกับพื้นบ่งบอกว่าปกป้องEvaไม่ได้อีกต่อไปเพราะโดนกิเลสDark Side (คอนเซป์อัลบั้ม) โจมตีชนะ ไม่ให้แพ้ได้ไงดูจำนวนลูกธนูซะก่อนเถอะ -*- 







จีมินจากทีเซอร์LIE ในเพลงคือไม่ต้องการเจอคำโกหกและอยากตามหาตัวเองในอดีตที่เคยสดใสไร้เดียงสาเหมือนที่น้องชิมมีผ้าดำปิดตาเพราะไม่อยากรับรู้อะไรแล้วแต่ตัวเองดันกินแอปเปิ้ลเข้าไป แอปเปิลในทางไบเบิ้ลเปรียบเสมือนผลไม้ต้องห้ามที่ทำให้AdamกับEve ถูกพระเจ้าสาปให้เป็นมนุษย์เพราะทำผิดกฏ มันคือผลไม้ที่กินแล้วทำให้เกิดความละอายในตนเองและเกิดกิเลสไม่จบสิ้น ชิมที่ไร้เดียงสาพอเจอคำโกหกลูกเลยอยากจมน้ำตายชิมิ แต่กำลังงงอยู่ว่าทำไมชิมมาโผล่นอนหญ้าและฉากหลังเป็นภาพโดนป้ายสี เรื่องสถานที่ยังไม่แน่ใจแต่เรื่องภาพที่น่าจะหมายถึงว่านางโดนเรืองราวโกหกป้ายละเลง บทจีมินนี่ตียากเหมือนกัน 









วีในทีเซอร์Stigmaคือรอยด่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับครอบครัวตามเนื้อเพลงคือนางไม่ได้อยู่เคียงน้องสาวในเอ็มวีที่ถูกพ่อทำร้ายและนางก็ได้ฆ่าพ่อกลายเป็นติดคุกอดดูแลน้องไป พอมาในBS&T คือนางเป็นปีศาจเพราะฆ่าคน(พ่อ)ไป โฮปที่ปกป้องEva จากปีศาจเลยยิงแทในเอ็มวีนั่นเอง พูดง่ายๆ คือวีคือดาร์ธเวเดอร์ เอ้ย ปีศาจปีกดำนั่นเองแถมหลอกจินอีก พอมาทีเซอร์คอนฯ ก็แสดงจุดยืนชัดเจนว่าตัวเองเป็นคนบาปกางปีกไรงี้และวีเองก็อาจจะเป็นเงาแทนกุกี้ได้เหมือนกัน











มาถึงแร๊พม่อนจากReflectionม่อนเคยให้สัมฯ บ่อยว่าอยากยอมรับตัวเอง Reflectionก็คือการสะท้อน นางเลยเล่นกับกระจกและกระจกแตกงี้เดาได้เลยว่าสูญเสียตัวเองไปเลยไปเป็นสิงอมควันในเอ็มสีหน้าเคลิมแบบนั้นมันทำให้เราคิดนะว่าในเอ็มวีคือติดกัญชาอะไรแบบนั้นรึป่าวเพราะสีหน้าเมาเหยิ้ม(แต่ยังคีพลุคได้55) แต่คิดว่าผลพวงมาจากการที่ม่อนไปรับสายวีไม่ได้ทำให้ช่วยวีที่โดนขังไม่ทันเป็นเพราะนางยังไม่มั่นใจตัวเองพอนางเลยเอาแต่สักแขน(การสักผิวหน้าคือการย้ำเตือนตัวตนตัวเองอย่างหนึ่ง metaphor) นางทำได้แต่ใช้ชีวิตต่อไป






สุดท้ายจินจากAwake จินนี่เป็นพี่คนโตของวงเหมือนตัวแทนผู้ใหญ่หรือDemian ในINU นางเอาแต่ขดตัวบนที่นอนและดอกไม้เบญจมาศสีดาวหรือป่าวไม่แน่ใจแต่ดันมีคนสังเกตว่ากลีบดอกไม้มีทั้งหมด 6 กลีบคงหมายถึงสมาชิกที่เหลือและที่มันถูกไฟเผาคงหมายถึงความตาย แล้วในRUNจินเห็นไพ่ที่ก่อขึ้นล้มลงแล้วทำหน้าสงสัยนี่มันอดคิดไม่ได้ว่าจินมีลางสังหรณ์ไรงี้และจินเป็นคนขับรถชะลอเข้าหากุกกี้แต่คิดว่าการที่เอ็มวีฉายฉากบังทัน 6 คนเดินด้วยกันในมุมมองจินนี่น่าสนใจมากๆ เหมือนกับพี่คนโตที่ดูแลน้องๆ และรู้จักน้องๆ ดีที่สุด(จะเรียกว่าออมม่าดูแลลูกก็ได้อยู่555+) งี้พอมาทีเซอร์จินได้ถ่ายรูปเรื่องราวบังทันทั้งหมดที่ไม่รู้หายไปไหน(หรือตายแล้ว) กลายเป็นคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่(เดี๋ยวบอกว่าทำไมถึงมีชีวิตอยู่) ถ้าดูทีเซอร์Awakeดีๆ ก่อนหน้าฉากวางกลีบดอกไม้ สภาพจินเหมือนอยู่คนเดียวในโลกปกติ แต่พอวางกลีบดอกไม้ 6 กลีบที่หมายถึงสมาชิกบังทัน(ที่คิดว่าจากไปแล้ว)และเผาไป เปิดหน้าต่างเหมือนเจออีก้า(ตัวแทนความตาย)แล้วจินจิ้มกระจกแล้วกระจกสะเทือนเหมือนกับว่านางไม่สามารถติดต่ออีกโลกนึง(หรือนางกำลังฝัน) และเดินเข้าหารูปอีกาสีดำที่เป็นตัวแทนจองกุกและความหมายอีกอันคือ "This change can be anything from a new beginning for the person or a sign of impending death for someone the person knows." (courtesy: https://www.reference.com/pets.../mean-person-sees-black-crow-c910155d73754e96) หมายถึงจินที่กำลังอยู่ในช่วงรอความตายมาเยือนหรือแปลได้ว่าจุดเริ่มต้นใหม่ของจินเพราะงั้นนางเลยเดินต่อไปอีกทีที่คาดว่าน่าจะเป็นประตูอีกโลกนึงที่ทำให้จินเจอน้องๆ พอมาทีเซอร์ล่าสุดนางบอกผิวน้ำเหมือนต้องการชำระบาปดูย้อนไปที่Awake อีกรอบผิวน้ำที่สะเทือนนั่นอาจเป็นกระจกในห้องนอนที่จินแตะก่อนหน้านี้ก็ได้ สุดท้ายจินโน้มเพื่อไปจูบตัวเองที่เงาน้ำเพื่อล้างบาปที่ไปจูรูปปั้นปีศาจแต่มันกลายเป็นว่าแท้จริงแล้วตอนนั้นจินในผิวน้ำนั่นไม่ใช่จินคนเดิมทำให้ยังไงก็ตามจินก็กลายเป็นรูปปั้นที่แตกสลายหมายถึงว่ายังไงก็ตามนางได้สัมผัสกิเลสด้านมืดไปแล้วเหมือนกัน ตีความบทจินนานสุดแล้วว่าแล้วว่าบังทันให้จินบทเยอะสุดและความหมายแฝงเยอะสุดจริงๆ 




เพราะฉะนั้นเราขอสรุปเรื่องราวมหากาพย์ฮวายังยอนฮวาในความคิดเราว่าอาจเป็นไปได้ที่ทั้งม่อน แท ก้า กุกกี้ โฮป ชิม 6 คนนี้อาจจะหลงเข้าสู่ด้านมืดไปหรือเสียชีวิตไปแล้ว สังเกตุว่าในMV BS&T มันคืออีกโลกนึงที่บังทันเข้าไปอยู่และถ้าดูตอนท้ายของจินที่เดินบนทางเดินนั้นไปก็อาจจะไปโลก BS&T ก็เป็นได้ และข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือจินเป็นคนเดียวที่ไม่ใส่ชุดนอนแต่ที่เหลือใส่ อาจเป็นไปได้ว่าจินเป็นคนเดียวที่นอนฝัน(ในINU) รู้ตัวว่าเจอกับอะไรในขณะที่คนอื่นยังอยู่ในโลกนั้นและมีissueส่วนตัวที่ติดตัวมา(จากเอ็มวีก่อน) และทีเซอร์ล่าสุดเฉลยมากขึ้นเรื่อยๆ เนี่ยแหละที่ทำให้เราอยากติดตามต่อว่าจะเป็นแบบไหนต่อไป


ที่นั่งพิมพ์ไปนี่ดูเอ็มวีไปด้วยเขียนไปด้วยและเอะใจไปด้วยใช้วิจารณญาณตัวเองจับพลัดผลูผสมกับแหล่งMetaphorไปด้วยเลยเกิดไอเดียขณะที่พิมพ์ไปทำให้พบว่าบังทันซ่อนของเยอะมาก โหดสัสบังทันจริง บิ๊กฮิตเล่นใหญ่เนอะ 555+ ที่เล่ามาทั้งหมดเอ็มวีของบังทันก็เป็นอีกจุดเด่นอีกหนึ่งนอกจากแร๊พแล้ววงบอยกรุ๊ปนี้เขามีเมกาโปรเจคสร้างเรื่องราว alter ego ในโลกเอ็มวีให้แฟนคลับตีความสนุกสนานไม่รู้จบคล้ายๆ กับการที่เราตามดูหนังสือและหนังแฮรี่จนจบไรแบบนี้ เพราะฉะนั้นการที่เรารู้จักบังทันเมื่อกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา และใช้เวลาว่างอันน้อยนิดของเราติดตามผลงานน้องๆ ถือเป็นเรื่องราวดีๆ สำหรับชีวิตติ่งวัยทำงานอย่างเราได้รู้สึกสนุกไปกับมัน ถึงเราจะเสียดายที่รู้จักบังทันช้าไปมากและเวลาดูคอนเสิร์ทย้อนหลังมันช่างเจ็บปวดเวลาดู แต่ยังไงตอนนี้เราดีใจที่มีวงที่ชอบและประทับสุดๆ พอๆ กับTVXQ ก็วงนี้แหละ BTS :)



J.M.



source: 
youtube.com
coloredcodedlyric
kpoponmymind.wordpress.com
sparknotes
ramjoonie.tumblr.com
reference.com 

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

[Movie/หนัง] [แนะนำ] Flipped วัยใสๆ ตกกระได หัวใจให้เธอ


คำเตือน: โพสต์นี้สปอยล์หนัก ไปดูหนังมาก่อนนะจ๊ะ

เด็กชายไบร์ซ และเด็กหญิงจูลี่


Poppy love หรือความรักครั้งแรกในช่วงวัยใสๆ (ไม่ใช่ ไสยๆ นะ) จะต้องนึกถึงหนังไทยเรื่องนึงที่ทุกคน (ยกเว้นเราแน่ๆ ) ที่ผ่านตาและฝังใจมาแล้วก็คือ แฟนฉัน เราเคยดูเมื่อนานมาแล้ว แต่ดูไม่เคยจบเลยให้คนอื่นเล่าแทนก็คิดว่าน่าจะสนุกแต่คงมีแต่เราที่ไม่ได้ชอบแนวReminiscenceเพราะตอนนั้นยังเด็กอยู่ พอเราโตขึ้นมาหน่อยนึงก็เข้าใจความทรงจำเหล่านั้น ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้มีความหลังแบบนั้นแถมตอนจบอาจไม่สมหวังก็ตาม แต่มาวันนี้เราเจอหนังเรื่องนึงของทางฝั่งฮอลลีวูด มีคนแชร์เพลงนึงขึ้นมาคือ Pretty Little Angel Eyes ของ Curtis Lee ตอนนั้นติดหูตามหาใน Youtube ก็เจอเด็กชายกับเด็กหญิงหน้าตาน่ารักๆ แสดง เสิร์ชจนรู้ชื่อเรื่อง Flipped นั่นเอง 




               ใบปิดฉบับหนัง             


 หน้าปกหนังสือ


                                                                   The Princess Bride (1987)



Flipped ถูกสร้างในปี2010 โดยผู้กำกับคนเดียวกับ The Princess Bride ปี 1987 (แนวโรแมนติดแฟนตาซีผจญภัยพร้อมกับQuote ที่คุ้นหู "As you wish".) เป็นหนังที่ถูกดัดแปลงจากหนังสือชื่อเดียวกัน แต่ดัดแปลงไปอยู่ในยุค 60's ต่างจากหนังสือที่เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในช่วง 90's สำหรับเราเรามองว่ายิ่งแนวคลาสสิกใสๆ ยิ่งอยู่ในยุคที่ไม่มีเทคโนโลยีอะไรมากเท่าไร ก็ยิ่งคลาสสิกมากเท่านั้น แถมเพลงในช่วง 60'sส่วนใหญ่เป็นเพลงจีบสาวมากกว่ายุค 90's ยังไม่เคยอ่านเป็นหนังสือ กำลังคิดจะอ่านอยู่ หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าที่อ่านมาเนี่ยมันเป็นแนวมิวสิเคิลรึป่าว ตอบเลยว่า ไม่ใช่ มันคือหนังโรแมนติดคอมเมดี้วัยใสๆ ที่มีเพลงประกอบน่ารักๆ ในยุค60ซึ่งเป็นยุคทองของวงการเพลงเลยล่ะ (ใส่เป็นธีมเพลงของบล็อคแล้ว เชิญฟังได้นะ)


ดูหน้าหนูไบร์ซ 555555+

    โตมาก็ตามตื้อ


เรื่องราวก็อย่างที่บอกไป พอมันเกิดในยุค 60 ความคลาสสิกมันอยู่ที่ตรงที่เน้นการสื่อสารพบปะเป็นหลัก โดยเฉพาะเด็กหญิง (นางเอก) จูลี่ เบเกอร์(แสดงโดย Madeline Carroll) สาวน้อยเพื่อนบ้านตรงข้ามตกหลุมรักเด็กชายบ้านตรงข้ามที่เพิ่งย้ายเข้ามา ไบร์ซ ลอสกี้ (แสดงโดย Callan McAuliffe) (ตอนนั้นน้องหล่อมาก แล้วมาเล่นเป็นเพื่อนพระเอก I Am No. 4 ตัวน้องก็ไม่สูงอีกเลย โถ่ 555+) จูลี่เห็นไบร์ซครั้งแรกก็ตกหลุมรักทำตาใสๆ ใส่ไบร์ซแถมอาสามาช่วยไบร์ซย้ายของให้ทั้งๆ ที่เพิ่งเห็นหน้ากัน (น้องไวมาก) แต่มันจะไม่ธรรมดาก็ตรงนี้น้องเพิ่ง 8 ขวบ! ก็อ่อย(เด็ก)ผู้ชายแล้ว! 555+ ฉากนี้คิดว่าใครๆ ก็ชอบเพราะมันน่ารักน่าหมั่นไส้ยิกๆ ส่วนไบร์ซน่ะเหรอ ก็ไม่ชอบจูลี่ตั้งแต่แรกที่เห็นไง 555+ (ตามสีหน้าในรูปบน)



จูลี่น้ำใสใจจริง

แอบชอบจูลี่ก็บอกเถิด


เรื่องราวก็เริ่มขึ้นตอนนั้นจนเด็กๆ โตขึ้น จูลี่ไม่เคยเลิกชอบไบร์ซและไบร์ซก็ไม่เคยชอบจูลี่เลยยย (ย.ยักเยอะๆ) แต่พอจูลี่ทำอะไรดีๆ ให้ เช่น ชวนปีนต้นไม้ดูวิว (วิวสวยจริง) ไบร์ซก็ปฏิเสธทุกอย่างที่จูลี่แม้แต่แกล้งมีแฟนกับคนอื่นต่อหน้าจูลี่ (ตรงนี้คนเขียนฮา เด็กหนอเด็ก ชอบหรือไม่ชอบก็บอกตรงๆ มาทำให้หึงเหิงอะไร๊) จนกระทั่ง จูลี่รู้ความจริงว่าของที่จูลี่เคยให้ไบร์ซ ไบร์ซเอาไปทิ้งหมด (ไม่สปอยล์นะ ไปดูเองว่า จูลี่ให้อะไรไบร์ซ) จูลี่จึงเลิกแล้วทุกสิ่งอันเกี่ยวกับไบร์ซแถมไบร์ซก็ไม่คิดจะปกป้องจูลี่ลับหลังเรื่องคุณลุงของเธออีกก็ยิ่งทำให้จูลี่คิดได้ เด็กหญิงก็เลิกสนใจเด็กชายในที่สุดจนหนูไบร์ซได้เข้าใจทุกสิ่งอันที่จูลี่พยายามทำทุกอย่างที่เขาไม่เคยสนใจสิ่งเล็กๆ นั้นเลยแม้แต่เรื่องการปกป้องต้นไม้ที่จูลี่ชอบปีน







สิ่งที่น่าสนใจและเป็นส่วนหลักของหนังก็คือเรื่องการเลี้ยงดูของเด็กหญิงเด็กชาย 2 บ้านนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง บ้านของเด็กชายมีฐานะ พ่อมีหน้ามีตาในอาชีพ แม่ก็เป็นแม่บ้านสุดเพอร์เฟค คุณตาก็อยู่อย่างสบายๆ และพี่สาวก๋ากั่นชวนพ่อปวดหัว พอสังเกตใกล้ๆ บ้านที่เพอร์เฟคในสายตาชาวบ้าน จริงๆ แล้วผู้ใหญ่ในบ้านนี้ไม่เคยคุยกับลูกๆ หลานๆ ตัวเองอย่างใกล้ชิดและจริงจังมาก่อนราวกับต่างคนต่างอยู่ พ่อที่คอยชอบดูถูกครอบครัวเด็กหญิงและคุณตาที่ชอบจูลี่มากกว่าหลานตัวเอง ผิดกับบ้านของเด็กหญิงที่ฐานะเป็นแค่คนเช้าบ้าน พ่อเป็นช่างซ่อมชอบวาดงานศิลป์ แม่ก็เป็นแม่บ้านธรรมด๊าธรรมดา พี่ชายฝาแฝดเป็นนักร้องพรสวรรค์ที่ครอบครัวคอยสนับสนุน และคุณอาเป็นออติสติก เราชอบฉากนึงของบ้านนี้คือการอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงทะเลาะกันและสอนว่าให้คือคุณค่าของชีวิตที่แท้จริง

โดยจุดเด่นที่ควรพูดถึงก็คือการเล่าเรื่องบรรยายโดยจูลี่และไบร์ซพาเราเข้าสู่ห้วงความคิดของเด็กๆ ที่มีต่อกันและกันกับคนรอบๆ ตัวพวกเขา นั้นยิ่งทำให้หนังพาเราซึมซับและเข้าใจตัสละครราวกับพวกเขากำลังระบายความรู้สึกในใจให้เราฟัง











ตรงนี้นี่เองที่หนังพยายามแสดงให้เห็นว่าแต่ละคนมีปมปัญหาของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กมีคาแรกเตอร์แบบนั้น ด้วยความคิดและค่านิยมคนยุคสมัยนั้นตีกรอบว่าเรียนจบ ทำงาน หาเงิน สร้างครอบครัว ทำงานตำแหน่งที่มีหน้ามีตา สิ่งนี้เองที่ทำให้คนเหล่านั้นไม่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองฝันในวัยว้าวุ่นและคนเหล่านี้เองจะคอยดูถูกคนที่ทำตามฝันตัวเองว่ามันไร้ค่า จึงเกิดการปิดกั้นทางความคิด นี่คือสิ่งที่พ่อของไบร์ซทำให้ไบร์ซเป็นคนไม่กล้าทำ ไม่กล้ารับและไม่รู้ใจตัวเอง




^______^



จนในที่สุดคุณตาของไบร์ซที่ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับหลานตัวเองจึงยกตัวอย่างชีวิตของเขากับคุณยายที่เสียไปแล้วให้ไบร์ซฟังและคอยอธิบายว่าทำไมคุณตาถึงชอบจูลี่มาก เพราะจูลี่คือเงาสะท้อนของคุณยายไบร์ซนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงไบร์ซยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะแสดงออกความรู้สึกในใจต่อจูลี่ พอถึงตอนนี้เราประทับใจไบร์ซมากๆ ที่ทำลายกรอบความคิดตัวเองออกมาได้จนได้จูลี่กลับคืนมาตอนนั้นเลยคิดว่า ความรักก็ทำให้เด็กๆ เติบโตขึ้นได้เหมือนกัน ถึงแม้ว่าเด็กชายจะเข้าใจช้ากว่าเด็กหญิงก็ตาม 5555+ กลายเป็นรักแรกพบของเด็กหญิงจูลี่ เบเกอร์และรักสุดท้ายของเด็กไบร์ซ ลอสกี้


คำคมที่คนเขียนประทับใจที่สุดของเรื่องนี้ 



"บางทีความเงียบอาจเชื่อมสัมพันธ์เราได้มากกว่าในแบบที่คำพูดไม่สามารถทำได้"
ฉากที่จูลี่กับพ่อไปเยี่ยมลุงโดยไม่ได้พูดอะไรกันเลยแต่กลับรู้สึกอบอุ่นใจเพราะเด็กหญิงกำลังจะไปเจอสมาชิกครอบครัวที่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตามาก่อน




"เครื่องจักรนิรันดร์  ใจผมกำลังจะสลายอยู่แล้วแต่พวกเขากำลังคุยเรื่องเครื่องจักรนิรันดร์เนี่ยนะ"
เป็นฉากน่ารักๆ อีกฉากนึงทำให้รู้ว่าเด็กชายไบร์ซรู้ใจตัวเองช้าเกินไปนิดนึงและยังโดนจูลี่เมินใส่ ไอน้องเอ้ยกำลังใจหล่นฮวบเลยสิงานนี้



ไม่มีคะแนนให้ แต่ขอเทใจให้หนังเรื่องนี้องค์ประกอบดีทุกอย่างลงตัว เอาไว้ดูสบายๆ สไตล์ฟีลกู้ด ส่วนตัวดูจนไม่นับครั้ง ชอบทั้งโทนสีหนังความคลาสสิกผสมกับเพลงเพราะที่ทำให้เราหลงเข้าไปในยุค 60ได้และแคสติ้งดีมากๆ คำคมก็กินใจยังมีอีกเยอะ


J.M.

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

[วิจารณ์] The Fifth Estate ฐานันดรที่ 5 และ หนังเกี่ยวกับ วิกิลีคส์

The Fifth Estate ฐานันดรที่ 5 และ หนังเกี่ยวกับ วิกิลีคส์



เราเคยติดตามข่าวเกี่ยวกับเว็บไซต์นี้ปีที่แล้ว เห็นว่าเป็นเว็บที่ดึงเอกสารลับจากองค์กรทั่วโลกมาเปิดโปง พวกคอรัปชั่น ฆาตรกรรม สงคราม โดยเฉพาะเอกสาร 5 แสนไฟล์ของ รัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับบันทึกสงครามในอิรัค โดยพลทหารแบรดลีย์ แมนนิ่ง (ต้องเรียกว่าเธอ เพราะนางจะเปลี่ยนชื่อเป็นเชลซีหรืออะไรสักอย่าง) โดยเธอคนนี้เนี่ยเอาข้อมูลส่งให้วิกิลีคส์ ซึ่งก็คือ นายจูเลี่ยน อัสซาจน์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีคส์ จนกลายเป็นข่าวจารกรรมข้อมูลลับที่ใหญ่ที่สุดและดังที่สุดที่มีมาในโลกนี้ จนคนอ่านอย่างเราได้รู้ข่าวสารความเป็นไปของโลกไปด้วย เราเลยนับถือคนนี้เป็นคนที่เปิดวิสัยทัศน์อีกโลกหนึ่งให้เรารู้ว่ายังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราถูกจำกัดให้รับรู้จากการเสพย์ข่าวจากสำนักข่าวหรือจากการแถลงการณ์ขององค์กรนั้นเองจึงเกิดฐานันดรใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ ฐานันดรที่ 5 (Fifth Estate)

ฐานันดรที่ 5 หรือ Fifth Estate จะเรียกว่ามันเป็น “ชนชั้น” หรือ “สถานะ” ก็ดี แต่ไม่น่าใช่ชนชั้น เราจึงค้นหาข้อมูลนิยามของคำนี้ อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย และ poynter.org สรุปได้ว่า ก่อนจะมีฐานันดรที่ 5 จะมี ฐานันดรที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับก่อนซึ่งแต่ละฐานั้นดรจะพูดถึงยุคสมัยของคนสถานะใดที่มีผลกระทบต่อสังคมอยู่จนถึงปัจุบัน   ฐานันดรที่ 1 หมายถึง พระ สังฆราช นักบุญต่างๆ ที่เกิดในยุคแรกๆ ของประวัติศาสตร์ จะมีบทบาทในการตัดสินความดี ความชั่วเป็นหลัก ฐานันดรที่ 2 คือ ชนชั้นสูง กษัตรย์ ราชวงศ์ ผู้ปกครอง เป็นยุคแห่งการครอบครองและมีศักดิ์ มีชนชั้น จึงนำไปสู่ ฐานันดรที่ 3 คือ ชนชั้นกลางหรือผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ทหาร พยาบาล ทนายและอื่นๆ ซึ่งเป็นยุคที่เห็นชัดที่สุดในเรื่องการทำมาหากิน ในเมื่อ 3 ฐานันดรแรกก็ปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ เราก็คิดว่าองค์ประกอบสังคมก็น่าใกล้จะครบแล้วนะ ขาดอะไรไปเหรอ  นั่นก็คือ สื่อสิ่งพิมพ์ สำนักข่าวทั้งหลาย รวมทั้งรายการโทรทัศน์ วิทยุ ทุกช่องทาง แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั้งหลายนั่นเองคือฐานันดรที่ 4 เป็นยุคของสื่ออย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในเมื่อสื่อมีการนำเสนอข้อมูลเฉพาะด้าน เปิดเผยไม่ครบ และจำกัดการรับรู้แก่คนอ่านทั่วไป ทำให้เกิดฐานันดรที่ 5 ขึ้นมาซึ่งเป็นยุคของ นักเขียนข่าวอิสระ บล็อกเกอร์ ตัวแทนสื่อ และ วิสเซิลโบลเวอร์ (คำนี้แปลว่า คนที่เห็นด้านมืดของผู้กระทำและต่อต้านการกระทำอย่างเปิดเผย นิยามโดยความเข้าใจของเรา) อย่าง วิกิลีคส์ และ นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน คนที่เปิดโปงความลับของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ และนี่คือที่มานิยามและความเข้าใจง่ายๆ ของชื่อหนังที่เราได้ดู


เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

 
แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง               จูเลี่ยน อัสซาจน์เรียกร้องให้แมนนิ่งเป็นอิสระ

ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ฐานันดรที่ 4 กับ 5 ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่มากในเมื่อมันก็เป็นสื่อด้วยกันทั้งคู่ แต่ก็มีการจำแนกแยกแยะโดย Jan Leach ผู้เขียน ความแตกต่างของฐานันดรที่ 4 และ 5  สรุปตามความเข้าใจของเราอีกเช่นกัน คือ ฐานันดรที่ 4 จะเป็นสำนักข่าวที่เสนอข่าวตามแบบแผนโดยเสนอข่าวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสารของตนและผู้อ่านส่วนใหญ่จะรับรู้ข่าวสารจากสำนักข่าวหลักๆ หรือพูดง่ายๆ ผู้รับสารสามารถเข้าถึงแหล่งข่าวเหล่านี้ได้มากกว่า ข้อเสียคือบางครั้งเราไม่รู้ว่าสารที่เรารับเรารับครบหรือไม่ ยังมีการ แก้ไขและ ”บิดเบือน” มากแค่ไหนกว่าจะถึงมือเราแถมยังมีไบแอสหรือมีความลำเอียงของผู้สื่อข่าวโดยเฉพาะเรื่องการเมืองที่เราเห็นกันทุกวัน บางครั้งอาจจะมองได้ว่าเราเป็นคนจำกัดสื่อหรือสื่อเป็นคนจำกัดการรับรู้ของเรากันแน่ จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราควรตระหนักในการรับข่าวสารเช่นกัน ส่งผลฐานันดรที่ 5 แตกต่างจากฐานันดรที่ 4 ตรงที่ ผู้เขียนข่าว ผู้เผยแพร่ข่าว หรือ ตัวแทนสื่อ มักจะเป็นคนที่เราไม่รู้จัก ไม่มีชื่อ แต่เป็นคนคอยเขียนสิ่งที่สื่อจากฐานันดรที่ 4 ไม่ได้พูดถึงเอาไว้ในสาร แม้กระทั่งวิจารณ์การกระทำของบุคคลระดับสูงต่อสาธารณะด้วยเช่นกัน   ดังเช่น ตัวแทนสื่อและวิสเซิลโบลเวอร์อย่าง วิกิลีคส์ที่มีคอนเซปท์ว่า ต้องการเผยแพร่ข้อมูลดิบ นั้นหมายความว่า ไม่มีการ “แก้ไข” เพื่อโอนเอนไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น ฐานันดรที่ 5 เป็นฐานันดรที่เกิดไม่ได้ถ้าไม่มีข้อมูลจากฐานันดรที่ 4 ก่อนเพื่อต่อยอดหรือวิจารณ์หรือค้นหาความจริงจากอีกด้านหนึ่งต่อผู้รับข่าวสารได้ แถมเป็นฐานันดรที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงขององค์ระดับชาติรวมถึงผู้ปกครองเผด็จการอีกด้วย จึงไม่แปลกว่าทำไมนายอัสซาจน์กำลังกลบดานที่สถานฑูตเอกกวาดอร์ประจำลอนดอนและนายสโนว์เดนกำลังกลบดานในประเทศรัสเซียขณะนี้

เบเนดิก คัมเบอร์แบทช์          จูเลี่ยน อัสซาจน์ 

แดเนียล บรูห์
 แดเนียล ชมิท-เบิร์ก

พูดถึงวิกิลีคส์ในหนัง The Fifth Estate ต้องบอกก่อนว่า เรื่องนี้สร้างจากหนังสือ Inside WikiLeaks: My Time with Julian Assange at the World's Most Dangerous Website  ของนายแดเนียล ชมิท-เบิร์กและ WikiLeaks: Inside Julian Assange's War on Secrecy เขียนโดยนายเดวิด เลย์ และนายลุค ฮาร์ดดิ้ง นักเขียนข่าวชาวอังกฤษ 2 คน ที่อัสซาจน์อ้างว่า ”เป็นหนังสือสองเล่มที่ลวงโลก”  ที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือหนังสร้างตามมุมมองของคนสร้าง คนเล่าเรื่องนี้คือคนที่อยู่ใกล้ชิดนายอัสซาจน์ขณะที่เริ่มก่อตั้งเว็บไซต์แหล่งเอกสารลับของโลกที่ใหญ่ที่สุด ใครที่ดูแล้วอาจจะมองว่าตกลงเว็บวิกิลีคส์เนี่ย อันตราย หรือ ไม่ดี หรือ เป็นเว็บทำร้ายความมั่นคงของชาติ ของบริษัทอะไรก็แล้วแต่ แต่วิกิลีคส์ก็ยังยึดมั่นความคิดเหมือนเดิมที่เปิดเผยข้อมูลออกไป เมื่อตัวหนังพยายามสร้างให้ลำเอียงและรักษาภาพพจน์ของประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งอย่างมากถ้าเราเห็นชื่อผู้ผลิตหนังก็ไม่จำเป็นต้องสงสัยใดๆ และนายชมิท-เบิร์กตอนหลังในเรื่องไม่ลงรอยกับนายอัสซาจน์ ตอนท้ายหนังจึงมีการแฉเรื่องส่วนตัวของนายอัสซาจน์ บอกเป็นนัยว่า นายอัสซาจน์ก็หลอกลวง 




The movie
The reality

เนื้อเรื่องหลักๆ ในหนังนำเสนอเรื่องความเป็นมาของเว็บวิกิลีคส์และการก่อตั้งเว็บโดยแฮคเกอร์สองคนนี้ แต่คนที่มีอุดมการณ์แข็งแกร่งที่สุดดูจะเป็น นายอัสซาจน์ เจ้าของผมขาวทั้งหัวเอง เขาตั้งเป้าอยากให้คนทั่วโลกรับรู้ข่าวที่เขาไม่เคยรู้ได้ตาสว่าง  ตอนแรกนายชมิท-เบิร์กก็มีอุดมการณ์แบบนั้น การทำงานร่วมกันภายใต้ความคิดปฏิวัติวงการสื่อนั้นอาศัยความกล้าและความหนักแน่นและยึดมั่นในอุดมการณ์อย่างสุดๆ เราเลยรู้สึกว่าตอนแรกหนังนำเสนอว่าความคิดของสองคนนี้มีเหตุมีผลมากเพียงใด เหตุจูงใจที่ทำให้พวกเขาต้องทุ่มเทบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อเพียงให้คนทั้งโลกรับรู้ความจริง ก่อนหน้านั้นก็เปิดโปงข้อมูลฉ้อโกงภายในธนาคารสวิซฯ ธนาคารที่ขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัยระดับโลก และการจราจลในเคนย่า จนถึงจุดพีคของเรื่องคือการเปิดโปงข้อมูลลับสุดยอดของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เอาล่ะสิ อัสซาจน์ไม่รู้ว่าตนกำลังเล่นกับใคร เมื่อเป็นเช่นนี้ ชมิท-เบิร์กเห็นว่าเสี่ยงเกินไปที่จะต่อกรณ์กับประเทศมหาอำนาจนี้จึงคิดว่าไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลนี้จึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเอกสานโดยเซ็นเซอร์รายชื่อบุคคลในไฟล์เอกสารทั้งหมดไม่งั้นเจ้าหน้าที่ทหารและครอบครัวของพวกเขาอาจได้รับผลกระทบจนเกิดจราจลได้ ส่วนอัสซาจน์ไม่เห็นด้วยกับความคิดของเบิร์กเพราะเขายังคงยึดมั่นความคิดที่ว่าต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดไม่ขาดไม่เกิดไม่มีการแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้นและไม่ยอมให้คนที่ตายในสงครามการจราจลเสียเปล่า สุดท้ายอัสซาจน์ก็ยอมให้เบิร์กเซ็นเซอร์ชื่อทั้งหมดนั้น แต่เบิร์กลืมไปว่ามันมี 91,000 ไฟล์และต้องโพสต์ไฟล์เหล่านั้นในเว็บไซต์ภายใน 4 วัน อัสซาจน์รู้ว่าเขาทำไม่ได้แน่นอนและยังยึดมั่นในความคิดของตนเช่นเดิมว่าต้องน้ำเสนอข้อมูลอย่าง “โปร่งใส” ในขณะที่เบิร์กต้องการปกป้องรายชื่อและแหล่งข่าว(แมนนิ่ง) เหตุนี้อุดมการณ์ที่ตั้งใจไว้แต่แรกกันของทั้งสองกลับสวนทางกันในที่สุด







นอกจากจะนำเสนอเรื่องการทำงานและยังคอยบรรยายให้เห็นนายอัสซาจน์ในมุมมองของเพื่อนร่วมงาน เราจะสังเกตว่า นายอัสซาจน์จะเป็นคนขี้ระแวงและเป็นคนยอมหักไม่ยอมงอกับข้อเสนอจากเพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งไม่ค่อยไว้ใจพวกเขาถึงกับหลอกพวกเขาเหมือนกันเนื่องจากประสบการณ์ในอดีตที่เคยถูกเพื่อนหักหลังจึงกลายเป็นอย่างที่เห็น   เจ้าของหนังสือยังบอกว่า “เขาเป็นบ้า” “สิ่งที่เขาทำมันเสี่ยงเกินไป” เราจึงมองว่าคนเขียนคนนี้พยายามสร้างภาพอัสซาจน์ค่อนไปทางด้านลบ ทั้งเรื่องสีผมที่ไม่น่าเอามากล่าวหาอะไรได้มากนักเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวและเรื่องเพื่อนร่วมงานอาสาสมัครที่ไร้ตัวตนซึ่งเราจะไม่เอามายึดเป็นหลักตัดสินคนได้ ฉากหนึ่งในเรื่องเมื่อเขาได้รับเชิญไปทานอาหารร่วมกับพ่อแม่ของเบิร์ก แต่กลับพูดเหน็บพวกเขาที่พวกเขาเอาหนังสือพิมพ์ระดับประเทศว่าเป็น “อนาธิปไตย” หมายความว่าอัสซาจน์ที่อยู่ในกลุ่มฐานันดรที่ 5 ต่อต้าน หนังสือพิมพ์นั้นคือตัวแทนฐานันดรที่ 4  ชัดเจน เมื่อเราดูเรื่องนี้ถึงตอนจบ บทสรุปของหนังสรุปชัดเจนว่า นายอัสซาจน์เป็นภัยร้ายของทั้งประเทศและคนใกล้ตัวมากขนาดไหนโดยในหนังแสดงให้เห็นว่า นายชมิท-เบิร์กหลังจากถูกอัสซาจน์ ”ไล่ออก” เขาจึงทำการลบข้อมูลลับสุดยอดของสหรัฐฯที่อัสซาจน์ได้มากจากแมนนิ่ง จึงทำให้เขากลายเป็น ฮีโร่กลับตัวกลับใจหรืออะไรก็แล้วแต่ไปในทันที และอัสซาจน์ดูเป็นอาชญกรละเมิดข้อมูลส่วนตัวในที่สุด  


ออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง เว็บวิกิลีคส์ก็ไม่ได้ถูกปิดแต่อย่างใด กลับยังล้วง คว้าน และเผยแพร่ข้อมูลลับต่างๆ ในโลกออกมาเสมอจนถึงวันนี้รวมทั้งข้อมูลที่ถูกลบไปโดยเพื่อนร่วมงาน ซึ่งมันผิดแผกกับในหนังที่ไม่ได้สรุปอย่างนั้น กลับสรุปถึงข่าวฉาวและการหลบเลี่ยงCIAของอัสซาจน์ กลายเป็นคนถูกทางการสหรัฐฯหมายหัวและให้คำจำกัดความว่าเป็น “กบฏ” ทั้งๆ ที่เขาไม่ใช่คนอเมริกันสักนิด ถ้ามองถึงอุดมการ์ของอัสซาจน์ เขาจึงกลายเป็นคนที่ไม่ได้มีเจตนาจะเป็น “ปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ” ในมุมมองของฝ่ายตรงข้ามแต่ก็เป็นไปเสียแล้ว หากในความเป็นจริงอีกฟากหนึ่งของโลก มีเสียงอีกจำนวนมากที่ยังสนับสนุนการกระทำของเขา ไม่ได้มีแต่หนังสือของนายแดเนียล ชมิท-เบิร์กที่ออกมาเปิดโปงอัสซาจน์ ยังมีเล่มอื่นๆ ที่เขียนถึงด้านบวกของเขาเช่นกัน แต่หนังกลับไม่เอามาทำ เราจึงเหมารวมว่าเรื่องนี้เน้นทำลายอัสซาจน์มากกว่าจะนำเสนอเว็บวิกิลีคส์จริงจัง




ยังมีรายละเอียดที่สำคัญของเรื่องที่หนังไม่ได้เน้นนำเสนอกลับปล่อยผ่านและเน้นถึงความร้ายกาจของอัสซาจน์มากกว่าและรายละเอียดนั้นก็คือ ความแข็งแกร่งในการยึดมั่นอุดมการณ์ของนายอัสซาจน์ อย่างที่กล่าวไปนั้นเขาศรัทธาในอุดมการณ์มากขนาดไหนและมีอิทธิพลต่อโลกอย่างไร ในหนังคุณจะเห็นจุดนี้ของเขาพร้อมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือแก่ผู้ให้ข้อมูลอีกเช่นกัน พูดถึงตรงนี้เลยนึกถึงฉากหนึ่งในเรื่องเมื่อแมนนิ่งผู้ปล่อยข้อมูลลับระดับโลกตกเป็นข่าวบนหน้าเว็บไซต์ อัสซาจน์จึงบอกเพื่อนร่วมทีมให้จ้างทนายคุ้มครองแมนนิ่ง จุดนี้หนังกลับเล่าแบบผ่านไปไม่ได้เน้นแต่อย่างใด กลับไปเน้นตอนที่ อัสซาจน์ กับ เบิร์กถกเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในรถไฟใต้ดินที่เบลเยี่ยม และเบิร์กตอบโต้อุดมการณ์ของอัสซาจน์ว่า “ฉันนึกว่าเราต้องการปกป้องแหล่งข้อมูลของเรามากกว่า” น่าสงสัยว่าทั้งเรื่องก็เน้นย้ำโต้งๆ อยู่แล้วว่าอัสซาจน์เน้นการเปิดเผยแบบดิบมากแค่ไหน แต่ใยเบิร์กถึงโต้อัสซาจน์แบบนั้น   




เราอาจจะสงสัยว่าข้อมูลวิกิลีคส์นั้นเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ช่วงต้นของหนังจะเห็นว่าช่วงหนึ่งเว็บไซต์ถูกแบนเพราะให้ข้อมูลเท็จ เป็นอันตราย (นึกถึงเวลาไอซีทีแบนเว็บ) หรืออะไรก็ตามสืบเนื่องจากข่าวคอรัปชั่นของธนาคารสวิซฯ สักพักเว็บไวต์กลับมาออนไลน์ได้อีกครั้ง เห็นได้ชัดว่าข้อมูลที่นำเสนอในเว็บล้วนตรวจสอบและเชื่อถือได้มากที่สุดเพราะข้อมูลที่เปิดเผยล้วนเป็นข้อมูลดิบที่เผยรายชื่อผู้กระทำ ผู้สวมรู้ร่วมคิดในเอกสารทั้งหมดและนำไปใช้เป็นหลักฐานได้จากผู้ที่อาสาปล่อยข่าวที่ไม่ต้องการบอกชื่อ เว็บวิกิลีคส์จึงเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญเว็บหนึ่งที่ทำให้เรารู้จักโลกอีกด้านหนึ่งที่ถูกปิดมานานและไม่ได้อยู่ในกะลาอีกต่อไป และยังมีนโยบายในการปกป้องแหล่งข่าว พูดได้ว่าเป็นทั้งกระบอกเสียงและหน้ากากป้องกันของแหล่งข่าวที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามเพื่อแบ่งปันข้อมูลแก่เว็บไซต์โดยไม่ได้รับอันตรายใดๆ


ผลงานที่เรารู้จัก กำกับโดย บิลล์ คอนดอน

ฉากตอนแดเนียลทำงานไป ฟังเพลงอิเลคโทรไป รู้สึกถึงบรรยากาศได้


มามองในมุมมองคนดูหนังที่มีต่อการดำเนินเรื่องและการถ่ายทำของหนัง The Fifth Estate กำกับโดยบิลล์ คอนดอน เจ้าของหนังที่ผ่านมาได้แก่ Dream Girls, Twilight: Breaking Dawn part 1 and 2 เราชอบฝีมือการกำกับของคนนี้ตรงที่เขาจะเน้นการใช้เสียงเพลงได้ดีต่อให้หนังเรื่องนั้นไม่ใช่หนังเพลงก็ตาม ในหนังเราจะเห็นและได้ยินเสียงเพลงแนวเทคโนอิเลคโทรซึ่งเหมาะกับบรรยากาศนักโปรแกรและนักแฮคเกอร์อย่างตัวเอกของเรื่อง สื่อถึงยุคสมัยใหม่ของอินเทอร์เน็ตและวิวัฒนาการเทคโลยีอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความคิดที่ก้าวหน้าของนักปฏิวัติของเรื่อง   นอกจากเสียงเพลง เราขอชื่นชมการเปรียบเทียบนามธรรมเป็นรูปธรรมของเรื่อง เรามองว่าเป็นนี่คือจุดเด่นของเรื่องนี้ คอนดอนคงต้องการให้คนดูเข้าใจและเห็นภาพการทำงานของวิกิลีคส์ว่าทำงานกันอย่างไรโดยการจำลองห้องทำงานขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตาของวิกิลีคส์ว่ามีใครทำงานบ้าง รูปแบบลักษณะข้อมูลจากไฟล์ให้เป็นเอกสารกระดาษจัดเก็บอย่างไร ยังไม่พอการดำเนินการตัดต่อนั้นไม่ขาดช่วงเป็นเรื่องเป็นราวดูแล้วเข้าใจ แต่สิ่งที่น่าติอยู่อย่างเดียวดั่งที่กล่าวไว้คือเรื่องการเน้นมุมมองว่าอัสซาจน์ในภาพพจน์ทางลบและไม่ชูส่วนดีของเขากลับเล่าแบบผ่านแล้วผ่านเลย น่าจะเป็นที่มาว่าทำไมคนที่เห็นด้วยกับการกระทำของอัสซาจน์จะไม่ค่อยปลื้มหนังเรื่องนี้มากนัก ยิ่งเห็นคะแนนในIMDB ปัญหาจึงไม่ได้เป็นที่เนื้อเรื่องหรือการถ่ายทำ น่าจะเป็นการเน้นนำเสนออย่างไม่เท่าเทียมและลำเอียงไปทางมุมมองคนเขียนหนังสืออย่างเบิร์กนั่นเอง



ที่ขาดไม่ได้เลยนักแสดงของเรื่อง โดยเฉพาะAntagonistโดยไม่เป็นใจอย่างนายอัสซาจน์ นำแสดงโดย เบเนดิก คัมเบอร์แบทช์ นักแสดงชาวอังกฤษที่ดัง(มากๆและคนเขียนก็ชอบมากๆ) จากบทเชอร์ล็อคในซีรี่ส์อังกฤษชื่อเดียวกัน บทคาน จากเรื่อง สตาร์ เทรค อินทู เดอะ ดาร์คเนส และ มังกรสมอค จากเดอะฮอบบิทภาค 2 นับว่าปีที่แล้วเป็นปีที่เราได้เห็นเขาโลดแล่นบนแผ่นฟิล์มตลอดปีเลยทีเดียว   บทอัสซาจน์เป็นบทที่ท้าทายสำหรับคัมเบอร์แบทช์เช่นกัน เมื่อเขาต้องการจะศึกษาคาแรกเตอร์ของ จูเลี่ยน อัสซาจน์ เขาได้พยายามติดต่อเจ้าของเว็บวิกิลีคส์ให้ได้แต่ไม่ง่ายนักที่จะติดต่อผู้ที่กลบดานCIAอยู่ โชคช่วยเมื่อนายอัสซาจน์ตัวจริงตอบจดหมายคัมเบอร์แบทช์ด้วยการเตือนแบบหวังดีว่า “เขานั้นเป็นนักแสดงที่มีความสามารถ แต่คุณไม่ควรตกเป็นเครื่องมือให้คนสร้างหนัง” “หนังเรื่องนี้ไม่มีความจริงใดๆ เลย” จูเลี่ยนถึงกล่าวกับคัมเบอร์แบทช์ว่า เขาจะถูกใช้เป็น “ปืนรับจ้าง” อย่างไม่ได้ตั้งใจ เป็นอีกจุดหนึ่งที่เราได้เห็นอัสซาจน์ตัวจริงต่อต้านระบบสื่อในฐานันดรที่ 4 อย่างไร ถ้าอยากรู้ข่าวเพิ่มเติม สามารถเสิร์ชในยูทูปหรือกูเกิ้ลได้ว่า Assange VS Fifth Estate   นับว่าทำให้คัมเบอร์แบทช์เป็นที่รู้จักในวงการไซเบอร์และวิสเซิลโบลเวอร์กว้างขึ้น ไม่ใช่แค่อัสซาจน์เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วยกับบทภาพยนตร์ ถึงขั้นต้องเขียนแถลงการณ์ในเว็บกระบอกเสียงของเขา บทภาพยนตร์ที่ทางวิกิลีคส์แถลง ข่าวจากอีกแหล่งก็ได้บอกว่า นักแสดงตัวเอกของเรื่องก็มีปัญหากับบทอัสซาจน์เช่นกัน ต่อให้เขาพูดด้านดีของหนังก็ตามเพราะเป็นอาชีพของเขา เราในฐานะคนดูขอชื่นชมนักแสดงคนนี้ที่เขาพยายามติดต่อเจ้าของเว็บเพื่อสร้างหนัง และอีกอย่างที่รู้สึกทึ่งคือ ทักษะการแสดงที่เราไม่ได้ติดภาพจากบทเชอร์ล็อค หรือ คานเลย พูดง่ายๆ เราดูหนังไปไม่ได้คิดเลยว่าเนี่ยเบเนดิกแสดงอยู่ (555+) และที่น่าทึ่งคือ การพูดภาษาอังกฤษสำเนียงออสเตรเลีย (นายอัสซาจน์เป็นชาวออสเตรเลีย) ถ้าเราเคยฟังหนังฝั่งเกาะอังกฤษกับฝั่งอเมริกาเราจะเห็นความแตกต่างชัดเจน แต่เมื่อเราฟังสำเนียงอังกฤษกับออสเตรเลียอาจจะแยกยาก แต่เมื่อดูเรื่องนี้เลยเห็นความแตกต่างของ 2 สำเนียงชัดเจนโดยสำเนียงออสเตรเลียเหมือนจะเสียงสูงมากกว่าสำเนียงอังกฤษดูเหมือนอยู่ในควานทรี่มากกว่าสำเนียงแบบอังกฤษ

เบเนดิก คัมเบอร์แบทช์ รับบทเป็น เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ในซีรี่ส์เชอร์ล็อก

เบเนดิก คัมเบอร์แบทช์ รับบทเป็น คาน/จอห์น แฮริสสัน ในหนังฟอร์มยักษ์ภาคต่อของ Star Trek

โดยรวมของหนัง เรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับวิกิลีคส์ แต่ไม่ได้พูดถึงวิกิลีคส์อย่างที่โปรโมทไว้ จะเน้นการร่วมกันทำงานของอัสซาจน์กับเพื่อนร่วมทีมอย่าง เบิร์กและคนอื่นๆ มากกว่า อันนำไปสู้บทสรุปที่ไม่สวยงามเสียเท่าไร เพราะฉะนั้นหนัง The Fifth Estate เรื่องนี้เหมาะกับผู้ที่อยากรู้การทำงานของวิกิลีคส์หรือเบื้องหลัง “อีกมุม” เล่าโดยมุมมองคนร่วมงาน และแนะนำอย่างยิ่งว่าควรศึกษาข่าวเกี่ยวกับวิกิลีคส์และนายจูเลี่ยน อัสซาจน์ก่อนที่จะรับชมเรื่องนี้จะได้ไม่เสียอรรถรสและติดตามและเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น ถ้าเราจะให้คะแนนเต็มสิบ เราจะเทคะแนนให้กับผู้กำกับ 8.2/10 อย่างที่กล่าวเหตุผลไว้ข้างต้น นักแสดง 8.5/10 เนื่องจากเราไปดูการพูดของนายอัสซาจน์ตัวจริง ไม่ได้เป็นอย่างในเรื่อง แต่ก็นะ หนังควรเน้นอารมณ์มากกว่า น้ำเสียงการพูดของนักแสดงจึงถูกสร้างให้น่าดึงดูดและมีอารมณ์ร่วมด้วยตามแบบฉบับของหนัง และเนื้อเรื่อง 6.5/10 อย่างไม่ต้องสงสัย ที่น่าเสียดายที่สุดคือถ้าผู้กำกับและคนเขียนบทจะเน้นความสำคัญของตัวละครอย่างเท่าเทียมกันโดนไม่โอนเอนไปฝั่งมุมมองคนเขียนหนังสือ หนังเรื่องนี้จะกลายเป็นหนังวิกิลีคส์ที่ไม่ใช่แอนตี้วิกิลีคส์อย่างที่ว่ากันในโลกออนไลน์ แต่อย่างไรก็ดี ทีมผู้สร้างก็ต้องคำนึงถึงสัญชาติของค่ายหนังและเนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงของเจ้าของประเทศอยู่ดี ไม่เช่นนั้น The Fifth Estate จะกลายเป็นหนังแอนตี้สหรัฐฯ แทนได้


J.M.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------

references:
en.wikipedia.org/wiki/Fifth_Estate
en.wikipedia.org/wiki/Estates_of_the_Realm
en.wikipedia.org/wiki/The_Fifth_Estate_(film)
wikileaks.org
wikileaks.org/The-Fifth-Estate.html
www.poynter.org/latest-news/top-stories/98781/balloon-boy-story-reveals-differences-between-fourth-and-fifth-estates
www.newstalk.ie/Benedict-Cumberbatch-defends-his-role-in-The-Fifth-Estate
www.newstalk.ie/Julian-Assange-vs-The-Fifth-Estate-
en.wikipedia.org/wiki/Estates_of_the_Realm
www.youtube.com/watch?v=5yB3n9fu-rM
en.wikipedia.org/wiki/Daniel_Domscheit-Berg
imdb.com
rjmorwood.wordpress.com

Images: Google.com

Melody of My Life

ผู้ติดตาม